หลักการและเหตุผล |
จากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบ กิจการ พ.ศ. 2553 ที่ให้นายจ้างต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินใน สถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีที่สภาวะการทำงานใน สถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังและลดอันตรายและผลกระทบที่จะมีต่อพนักงานและสภาพแวดล้อม ภายในสถานประกอบการ ซึ่งภายในประกาศกรมฯ นี้ยังได้มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องจัดทำ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายอนุรักษ์การได้ยิน การเฝ้า ระวังเสียงดัง การเฝ้าระวังการได้ยิน หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่ เกี่ยวข้อง ที่สถานประกอบการต้องจัดทำ
โดยรายละเอียดที่ค่อนข้างมากและเป็นเทคนิคหรือวิธีการเฉพาะ ทำให้ผู้รับผิดชอบจัดทำโครงการฯ อาจเกิดความไม่เข้าใจถึงวัตถุ ประสงค์ เป้ าหมายและวิธีการที่ประกาศกรมฯ กำหนดขึ้น ทั้งยังต้อง จัดหามาตรการควบคุมเสียงดังที่จะเหมาะสมกับสถานประกอบการหรือโรงงานของตัวเองอีก ทาง บริษัท อาร์ซีเอสฯ จึงได้จัดทำหลักสูตรอบรมและ สัมมนา เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ในสถานประกอบการ (ตามกฎหมาย) ” นี้ขึ้น เพื่อให้ผู้รับผิดชอบมี ความรู้ และเข้าใจ สามารถนำเนื้อหาและรายละเอียดไปจัดทำโครงการ อนุรักษ์การได้ยิน และมาตรการควบคุมเสียงดังได้อย่างถูกต้อง ตรงตามที่กฎหมายกำหนด
|
|
วัตถุประสงค์ |
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการ จัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ตามที่กฎหมายกำหนด
- เพื่อให้สามารถจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินได้อย่างถูกวิธี
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำมาตรการป้องกนอันตราย เกี่ยวกับเสียงที่เหมาะสมไปใช้ในโรงงานของตนเพื่อลดผลกระทบของเสียงได้
|
|
เนื้อหาหลักสูตร |
- กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้เกี่ยวกับเสียง กายวิภาคศาสตร์ของหู และกลไกการได้ยิน
- หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
- องค์ประกอบหลักของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
- การจัดนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
- การเฝ้าระวังการได้ยิน
- การทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric Testing)
- เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
- มาตรการป้องกันอันตรายตามกฎหมายกรณีผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินพบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยิน
- ตัวอย่างโครงการอนุรักษ์การได้ยิน และแบบบันทึกผลการ ตรวจสอบต่างๆ
|
- การเฝ้าระวังเสียงดัง
- การสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง
- การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง
- การประเมินการสัมผัสเสียงดัง
- การจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียงในแต่ละพื้นที่
- หลักการป้องกันและควบคุมเสียงดัง
- มาตรการด้านวิศวกรรมในการจัดการเกี่ยวกับเสียงดัง
- หลักวิศวกรรมเรื่องเสียง และโครงการลดผลกระทบมลพิษทางเสียง
- กรณีศึกษา : มาตรการด้านวิศวกรรมในการจัดการเกี่ยวกับเสียง
|
การดำเนินการ
- วิทยากรผู้บรรยาย : วิทยากรผู้ซึ่งได้รับอนุมัติจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- การดำเนินการหรือวิธีการฝึกอบรม : บรรยายประกอบภาพสไลด์ การสาธิต ฝึกปฏิบัติและการทดสอบ (ต้องสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด)
- ระยะเวลาอบรม : 2 วัน (09.00 - 16.00 น.)
- กลุ่มเป้าหมาย :
› เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
› เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม
› ตัวแทนผู้บริหารระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย / ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
› พนักงานผู้สนใจการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินทุกท่าน
- สถานที่ฝึกอบรม : หลักสูตร Public ตามที่ระบุในแผนการอบรม l หลักสูตร In-house ตามที่ลูกค้ากำหนด
|
|
หมายเหตุ |
- อัตราค่าลงทะเบียน In House Training : รวมเอกสารอบรม วิทยากร วัสดุ/อุปกรณ์ การเดินทางของวิทยากร และวุฒิบัตรสำหรับผู้อบรม (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
- การชำระค่าลงทะเบียน โดยการโอนเงินเข้าธนาคาร ชื่อบัญชี บริษัท อาร์ซีเอส เซฟตี้เทค เซอร์วิสเซส จำกัด ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนอัสสัมชัญ-ศรีราชา เลขที่ 989-2-11899-7
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% Tax ID 0205556004666 บริษัท อาร์ซีเอส เซฟตี้เทค เซอร์วิสเซส จำกัด เลขที่ 97/59 ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
|
|
ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตร
|